อาการความเสี่ยงโรคหัวใจในสุนัข และ โรคหัวใจในแมว

สุนัข ,แมว ,โรคและการรักษา 17 กรกฎาคม 2568 10,380 ครั้ง

       “โรคหัวใจ”แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ โรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด หรือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นมาภายหลัง มักพบในน้องหมาที่มีอายุเยอะหรือน้องหมาที่มีน้ำหนักเยอะ ซึ่งโรคนี้จะสามารถพัฒนาไปเป็น 2 โรคใหญ่ ๆ คือ โรคลิ้นหัวใจ และโรคกล้ามเนื้อหัวใจภายในอนาคต แต่โรคหัวใจนั้นอาจจะไม่ได้แสดงอาการโดนทันที ดังนั้นเจ้าของควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจได้


8 สัญญาณเตือนอาการเสี่ยงของโรคหัวใจ

  1. น้องมีอาการเหนื่อยง่ายและหอบ
  2. ซึมและทานอาหารน้อยลง 
  3. ท้องบวมกางหรือที่เรียกว่าท้องมาน
  4. หายใจลำบากและมีเหงือกซีด
  5. ไอแห้งและมักจะไอในเวลากลางคืน 
  6. ชีพจรเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ
  7. เกิดอาการบวมน้ำที่บริเวณที่อุ้งเท้าและขาหลัง 
  8. เป็นลมหมดสติ

อาการเริ่มต้นของโรคหัวใจในสุนัข และ โรคหัวใจในแมว

โรคหัวใจในสุนัข และ โรคหัวใจในแมว เป็นโรคที่สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงทุกสายพันธุ์ และทุกช่วงวัย คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันสังเกตอาการเริ่มต้น จนบางทีอาจนำไปสู่การป่วยเป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรงได้ สามารถสังเกตอาการง่ายๆ ได้ เช่น การหายใจเร็ว เหนื่อยง่าย หรือมีอาการไอเรื้อรังร่วมด้วย ซึ่งบางครั้งอาจมองว่าเป็นอาการปกติของสัตว์เลี้ยงตามช่วงวัย การตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงประจำปีจึงจำเป็น และสำคัญในสัตว์เลี้ยงทุกช่วงวัย


รู้หรือไม่โรคหัวใจในแมวมักพบในแมวอายุ 6 ปีขึ้นไป อัตราการพบสูงถึง 14.7% และ 80% ของน้องแมวส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจจะมาแสดงอาการก็ตอนเมื่อมีอาการที่รุนแรงมากแล้ว โดยเฉพาะน้องแมวที่อยู่ในกลุ่มสายพันธ์เสี่ยง เช่นเมนคูน แร็กดอลล์ สฟิงซ์ และบริติช ช๊อดแฮร์ ตามสถิติแล้วสามารถพบได้ถึง 1 ใน 4 ตัว และพบได้ตั้งเเต่ในน้องแมวที่อายุน้อย
เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจดูแลสุขภาพหัวใจของลูกๆ เราให้แข็งแรงอยู่เสมอ

การตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญยังไงกับสุนัขและแมวที่เป็นโรคหัวใจ  

1. การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยให้พบอาการ และสัญญาณแรกเริ่มของโรคหัวใจได้
2. การตรวจพบโรคหัวใจในระยะเริ่มต้น อาจช่วยชะลอไม่ให้สัตว์เลี้ยงมีอาการป่วยโรคหัวใจในภาวะรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเสียชีวิตได้



Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor