ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดสัตว์เลี้ยง ดูแลโดยสัตวแพทย์เฉพาะทาง


ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สุขภาพหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตมีความสำคัญไม่เฉพาะแต่กับมนุษย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์เลี้ยงที่เรารักด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีในวงการสัตวแพทย์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการดูแลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด 

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ พร้อมให้บริการตรวจหัวใจแมว บริการตรวจหัวใจสุนัข และสัตว์เลี้ยงพิเศษ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสัตว์เลี้ยง (ECG) ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์เฉพาะทาง  เราพร้อมดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณให้แข็งแรง เพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่ยืนยาว



บริการตรวจวินิจฉัยระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ

ที่ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ เราให้บริการตรวจหัวใจสัตว์เลี้ยง ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และทีมสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจสัตว์

  • บริการตรวจหัวใจด้วยเครื่องคลื่นสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)
  • บริการถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องอกระบบดิจิทัล (Digital radiography)
  • บริการตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
  • บริการตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวสัตว์ (Holter monitoring)
  • บริการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้ระบบดิจิทัล (Fluoroscopy)
  • บริการตรวจคัดกรองโรคหัวใจด้วยการวัดระดับโปรตีนกล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (Cardiac biomarkers)


CT SCAN ช่วยในการวินิจฉัยและการรักษาที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น กับโรคหัวใจในสุนัขและแมว

การดูแลรักษาโรคหัวใจและระบบทางเดินหายใจในสัตว์เลี้ยง

ตัวอย่างบริการรักษาโรคหัวใจสุนัข

  • โรคลิ้นหัวใจเสื่อม (Valve Degeneration) : พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ปอม ชิสุ รักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (Dilated Cardiomyopathy) : พบมากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น โดเบอร์แมน
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) : ภาวะที่ทำให้สัตว์เลี้ยงมีโอกาสหมดสติเฉียบพลัน หรือหัวใจหยุดเต้น
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) : ภาวะที่ทำให้สัตว์เลี้ยงมีอาการเหนื่อยง่าย และเสี่ยงต่อน้ำท่วมปอด 
  • พยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm Disease) : โรคจากยุงกัดที่อันตรายถึงชีวิต 

ตัวอย่างบริการรักษาโรคหัวใจแมว

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (Feline Hypertrophic Cardiomyopathy) : พบบ่อยในแมวพันธุ์เปอร์เซีย ส่งผลให้หัวใจทำงานผิดปกติ
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจบีบรัด (Restrictive Cardiomyopathy) : ภาวะที่หัวใจไม่สามารถขยายตัวได้ตามปกติ ทำให้แมวเหนื่อยง่าย
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Arterial Thromboembolism) : ภาวะลิ่มเลือดจากหัวใจหลุดไปอุดที่ขาหลัง ทำให้แมวไม่สามารถเดินได้ตามปกติ
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว : พบได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ส่งผลให้น้องแมวมีอาการเหนื่อยง่าย
  • โรคหรือความผิดปกติของหัวใจและไต ทั้งในรูปแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง (Cardiorenal Syndrome)

ตัวอย่างบริการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

  • ภาวะความดันโลหิตสูง (Systemic Hypertension)
  • ภาวะความดันโลหิตในปอดสูง (Pulmonary Hypertension)
  • โรคหอบหืดแมว (Feline Asthma)
  • โรคทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Respiratory Disease)
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง (Respiratory Tract Infection)
  • โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)
  • หัตถการเจาะรักษาภาวะน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleurocentesis)
  • หัตถการเจาะรักษาภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleurocentesis)
  • หัตถการเจาะรักษาภาวะน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardiocentesis)
  • โรคไส้เลื่อนถุงหุ้มหัวใจและเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneopericardial Diaphragmatic Hernia)
  • ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ

อันตรายของโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง

โรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง ไม่ได้เกิดจากอายุที่มากขึ้นเท่านั้น เพราะสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงพิเศษ หลายสายพันธุ์ สามารถเผชิญภาวะนี้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม หรือมีโรคประจำตัวร่วมด้วย หากไม่ได้เข้ารับบริการตรวจหัวใจสัตว์เลี้ยงและรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น

  • ภาวะน้ำท่วมปอด หายใจลำบาก อ่อนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น
  • ช็อกหรือหมดสติ จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
  • ภาวะความดันโลหิตในปอดสูง ซึ่งนำไปสู่การหายใจติดขัดรุนแรงในสุนัขบางพันธุ์

แม้บางอาการจะดูเหมือนไม่รุนแรงในช่วงแรก เช่น มีอาการไอเล็กน้อย หรือแค่นอนมากขึ้น แต่หากปล่อยไว้นาน โรคอาจลุกลามจนกลายเป็นภาวะฉุกเฉินที่รักษาได้ยาก

สัญญาณเตือนโรคหัวใจในแมว สุนัข และสัตว์เลี้ยงพิเศษ (Exotic Pet)

โรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่มต้น แต่หากสังเกตอย่างใกล้ชิด เจ้าของอาจสามารถจับสัญญาณของความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือหากต้องการความแน่ใจ ก็สามารถพามาตรวจเพิ่มเติมกับบริการตรวจหัวใจสัตว์เลี้ยง เพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษาได้อย่างรวดเร็ว 

สัญญาณเตือนโรคหัวใจในสุนัข

  • หายใจหอบ เหนื่อยง่าย แม้จะออกแรงเพียงเล็กน้อย
  • ไอแห้ง ๆ โดยเฉพาะตอนกลางคืนหรือหลังออกกำลังกาย
  • เหงือกซีด ตัวเย็น หรือมีอาการอ่อนแรง
  • ท้องโตจากน้ำคั่ง หรือขาบวม ในกรณีที่โรคเริ่มรุนแรง
  • อาจมีอาการหมดสติ

สัญญาณเตือนโรคหัวใจในแมว

  • หายใจลำบาก หรือมีอาการหอบ
  • นอนนิ่ง ไม่อยากขยับ หรือเบื่ออาหาร
  • ขาหลังอ่อนแรง เดินลากขา หรือมีอาการคล้ายอัมพาตเฉียบพลัน
  • หัวใจเต้นเร็วเกินปกติแม้ในขณะพัก

สัญญาณเตือนโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยงพิเศษ (Exotic Pet)

  • หายใจแรง หายใจเสียงดัง หรือขยับตัวน้อยลง
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ
  • เหนื่อยง่าย หรือไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหัน

หากพบอาการข้างต้น ควรรีบนำสัตว์เลี้ยงเข้ารับบริการตรวจหัวใจสัตว์เลี้ยงกับทีมสัตวแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม


80 % ของแมวที่เป็นโรคหัวใจ
มักไม่แสดงอาการให้เจ้าของรู้จนกระทั่งอาการรุนแรงและเสียชีวิตโดยไม่มีสัญญาณใดๆ

20%-ของแมวสายพันธุ์ เมนคูล ,แร็กดอลล์,สฟิงซ์,เบงกอล มักตรวจพบ "โรคหัวใจ"


โรงพยาบาลสัตว์ที่พร้อมดูแลทุกเรื่องโรคหัวใจของสัตว์เลี้ยง

เพราะโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยงมักแสดงอาการช้า แต่ส่งผลร้ายแรงได้ในเวลาอันสั้น หากคุณเริ่มสังเกตเห็นอาการผิดปกติ เช่น หายใจหอบ ไอเรื้อรัง หรือเดินช้าลง ต้องรีบพาสัตว์เลี้ยงมาตรวจหัวใจอย่างละเอียด ที่ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ เราพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา และดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างใกล้ชิด

พบกับเราได้ที่ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อสาขาใกล้บ้านคุณ
โทร : 02-079-9999
Line: @jaothonglor หรือ คลิก tlpet.club/3SuQM0e 


คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

Q : บริการตรวจหัวใจแมวจำเป็นแค่ไหน หากแมวดูแข็งแรงดี ?

A : แมวเป็นสัตว์ที่ซ่อนอาการได้เก่ง อีกทั้งโรคหัวใจในแมว จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา (HCM) และมักไม่แสดงอาการจนเข้าสู่ระยะรุนแรง การเข้ารับบริการตรวจหัวใจแมว จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และวางแผนดูแลได้ทันเวลา

Q : สุนัขพันธุ์ไหนบ้างที่ควรเข้ารับบริการตรวจหัวใจ ?

A : สุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิสุ พุดเดิล ปอมเมอเรเนียน มักเสี่ยงเป็นโรคลิ้นหัวใจเสื่อม ส่วนสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ หรือโดเบอร์แมน มักเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต การเข้ารับบริการตรวจหัวใจสุนัขอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะช่วยให้พวกเขามีอายุที่ยืนยาวขึ้น

Q : โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อมีบริการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสัตว์เลี้ยงหรือไม่ ?

A : มี ที่ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ให้บริการทั้งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสัตว์เลี้ยง และบริการอื่น ๆ ที่ช่วยวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ

Q : การรักษาโรคหัวใจสุนัข ทำอย่างไร ?

A : สัตวแพทย์จะใช้ยาเฉพาะทางตามระยะของโรค ร่วมกับการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรงพยาบาลรักษาโรคหัวใจในสุนัข อย่างโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ มีทีมแพทย์เฉพาะทางคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

Q : สัตว์เลี้ยง Exotic Pet เช่น กระต่าย เฟอเรท จำเป็นต้องตรวจหัวใจด้วยไหม ?

A : สัตว์เลี้ยงพิเศษ (Exotic Pet) ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุเยอะ ที่ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดสัตว์เลี้ยง ของโรงพยาบาลทองหล่อ เรามีทีมสัตวแพทย์เฉพาะทางที่จะช่วยในการวินิจฉัยและดูแลสัตว์พิเศษได้อย่างปลอดภัย

Q : ต้องเตรียมตัวสัตว์เลี้ยงอย่างไรก่อนพามาตรวจหัวใจ ?

A : ควรงดน้ำและอาหารล่วงหน้าประมาณ 6-8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ แต่หากสัตว์เลี้ยงมีอาการเฉียบพลัน เช่น หายใจหอบ ซีด หรือหมดสติ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลสัตว์ทันที 

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

การรักษา

แพทย์ประจำศูนย์และคลินิก

บทความ

การรักษาของเรา